หัวข้อ   “ประชาชน 5 เขตเลือกตั้ง คิดอย่างไรกับการเลือกตั้งซ่อม 12 ธ.ค. ”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความเห็นประชาชน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 5 เขต ที่จะมีการเลือกตั้งซ่อม สส. เนื่องจากคนเดิมถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน
ให้พ้นจากการเป็น สส. เนื่องจากถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับ
รัฐ พบว่า ร้อยละ 67.7 ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 12 ธันวาคม ขณะที่ร้อยละ 13.2
จะไม่ไป
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 เมื่อถามความตั้งใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตว่าจะเลือก สส. คนเดิมกลับ
เข้ามาหรือไม่ (หากคนเดิมลงสมัครรับเลือกตั้ง)  พบว่า   ส่วนใหญ่ยังไม่ตัดสินใจ มีเพียงพื้นที่
ขอนแก่น (เขต 2)  ที่ร้อยละ 50.5  ระบุว่าจะเลือกคนเดิมคือ ร.ท. ปรีชาพล  พงษ์พานิช (พรรคเพื่อไทย) กลับเข้ามา ดังนี้
                        - กรุงเทพมหานคร (เขต 2) จะเลือกคนเดิมร้อยละ 32.3 (ไม่เลือกร้อยละ
                 19.7 ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 48.0)
                        - พระนครศรีอยุธยา (เขต 1) จะเลือกคนเดิมร้อยละ 25.0 (ไม่เลือกร้อยละ
                 22.0 ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 53.0)
                        - สุรินทร์ (เขต 3) จะเลือกคนเดิมร้อยละ 18.9 (ไม่เลือกร้อยละ 18.9
                 เท่ากัน ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 62.2)
                        - นครราชสีมา (เขต 6) จะเลือกคนเดิมร้อยละ 27.2 (ไม่เลือกร้อยละ 19.6 ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 53.2)
                        - ขอนแก่น (เขต 2) จะเลือกคนเดิมร้อยละ 50.5 (ไม่เลือกร้อยละ 7.4 ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 42.1)
 
                 ส่วนประเด็นการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมนั้น ประชาชนร้อยละ 79.6   เห็นว่า
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช. มหาดไทย   และนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช. คมนาคม ควรลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม  เพื่อแสดงความรับผิดชอบและเป็นจริยธรรมทางการเมือง เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบผู้สมัคร
คนอื่น และเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองเหมือนที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทำ   ในขณะที่ร้อยละ 20.4 เห็นว่าไม่ควร
ลาออก  เนื่องจากคำตัดสินของศาลไม่ได้ระบุว่าต้องลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี  และทำงานดีอยู่แล้วก็ควรจะทำงาน
ต่อไป
   
                 โปรดพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความสนใจติดตามข่าวที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2553 ให้ สส. 6 คน
                 พ้นจากการเป็น สส. เนื่องจากถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ

 
ร้อยละ
สนใจติดตามข่าว
54.5
ไม่สนใจติดตามข่าว
45.5
 
 
             2. ความตั้งใจที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 12 ธ.ค.ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
ไป
67.7
ไม่ไป
13.2
ไม่แน่ใจ
19.1
 
 
             3. ความตั้งใจที่จะเลือกอดีต สส. คนเดิมกลับเข้ามา ของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้ง

พื้นที่/เขตเลือกตั้ง
ชื่อผู้สมัคร/พรรค ของอดีต สส.
(หากลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม)
เลือก
(ร้อยละ)
ไม่เลือก
(ร้อยละ)
ยังไม่ตัดสินใจ
(ร้อยละ)
กรุงเทพฯ (เขต 2) นายสมเกียรติ ฉันทวานิช
(พรรคประชาธิปัตย์)
32.3
19.7
48.0
อยุธยา (เขต 1) นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
(พรรคชาติไทยพัฒนา)
25.0
22.0
53.0
สุรินทร์ (เขต 3) นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ
(พรรคเพื่อแผ่นดิน)
18.9
18.9
62.2
นครราชสีมา (เขต 6) นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
(พรรคภูมิใจไทย)
27.2
19.5
53.3
ขอนแก่น (เขต 2) ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช
(พรรคเพื่อไทย)
50.5
7.4
42.1
 
 
             4. ความเห็นต่อประเด็นที่ว่า นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช. มหาดไทย และ นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
                 รมช. คมนาคม ควรลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรี ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมหรือไม่

 
ร้อยละ
ควรลาออกก่อน เนื่องจาก
        1   เพื่อแสดงความรับผิดชอบ และเป็นจริยธรรมทางการเมือง
        2   เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับผู้สมัครคนอื่น
        3   เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองเหมือนที่นายสุเทพ
             เทือกสุบรรณ ทำ
79.6
ไม่ควรลาออกก่อน เนื่องจาก
        1   คำตัดสินของศาลไม่ได้ระบุว่าต้องลาออก
        2   ทำงานดีอยู่แล้ว ก็ควรจะทำงานต่อไป
20.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่เขตเลือกตั้งทั้ง 5 เขตที่จะมีการเลือกตั้ง
ซ่อมในวันที่ 12 ธันวาคม 2553 ประกอบด้วย   กรุงเทพมหานคร (เขต 2)   พระนครศรีอยุธยา (เขต 1)   สุรินทร์ (เขต 3)
นครราชสีมา (เขต 6)  และขอนแก่น (เขต 2)   โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธี
เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,142 คน  เป็นเพศชายร้อยละ
47.9   และเพศหญิงร้อยละ 52.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่
มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 5 - 6  พฤศจิกายน 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 7 พฤศจิกายน 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
547
47.9
             หญิง
595
52.1
รวม
1,142
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
216
19.0
             26 – 35 ปี
262
23.0
             36 – 45 ปี
281
24.6
             46 ปีขึ้นไป
383
33.4
รวม
1,142
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
808
70.8
             ปริญญาตรี
311
27.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
23
2.0
รวม
1,142
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
138
12.1
             พนักงานบริษัทเอกชน
163
14.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
395
34.6
             รับจ้างทั่วไป
191
16.7
             เกษตรกร
78
6.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
131
11.5
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
46
4.0
รวม
1,142
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776